จรรยาบรรณธุรกิจและการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

ความเสี่ยง

การกระทำใด ๆ ที่ขัดกับหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ หรือการทุจริตคอร์รัปชัน อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียและต่อการดำเนินธุรกิจ ชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของบริษัทฯ นอกจากนี้ ยังเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ และการพัฒนาของประเทศชาติด้วย

โอกาส

การดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีจริยธรรมและคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย จะทำให้บริษัทฯ ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง สามารถดึงดูดคนเก่งที่มีความสามารถและนักลงทุนหรือผู้ประกอบการที่มีค่านิยมเดียวกัน ทำให้บริษัทฯ สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมั่นคง

แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัทฯ มีอุดมการณ์ ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม โดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ให้ความสำคัญและยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด โดยมีแนวทางสอดคล้องกับหลักกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งกำหนดขอบเขตมาตรฐานความประพฤติและพฤติกรรมที่พนักงานทุกคนของบริษัทฯ รวมถึงคณะกรรมการ ผู้บริหารพึงกระทำในการดำเนินธุรกิจ และการปฏิบัติงานโดยปฏิบัติไปในวิถีทางเดียวกัน

ผู้บริหารและพนักงานทุกคนของบริษัทฯ มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายและคู่มือจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อส่งเสริมค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร ยึดมั่นในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีและมีจิตสำนึกที่ดี คำนึงถึงผลประโยชน์และผลกระทบจากการดำเนินงาน ด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรมทางสังคมต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ดําเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและสร้างระบบงานที่เข้มแข็งเพื่อป้องกันการทุจริตผ่านระบบการตรวจสอบภายใน

บริษัทฯ ได้ประกาศนโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และข้อกำหนดที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานอย่างมีจรรยาบรรณทางธุรกิจ และได้เผยแพร่ คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและคู่มือจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ตลอดจนนโยบายต่าง ๆ บนอินทราเน็ตภายในบริษัทและเว็บไซต์ เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง และใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงาน ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

ผลการดำเนินงาน

บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องนโยบายและแนวปฏิบัติ จรรยาบรรณธุรกิจ และการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน ให้แก่ พนักงาน และคู่ค้า ผ่านกิจกรรม และช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ โดยมีผลการดำเนินงานในปี 2566 ดังนี้

1. ตามที่บริษัทฯ ได้จัดทำและประกาศใช้จรรยาบรรณธุรกิจของคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) ให้คู่ค้าของบริษัทฯ ได้รับทราบในปี 2562

แล้วนั้น ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ขยายจำนวนคู่ค้าให้รับทราบจรรยาบรรณธุรกิจของคู่ค้าของอมตะมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้คู่ค้าดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับจรรยาบรรณธุรกิจของกลุ่มอมตะเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนโดยได้ทำการจัดส่งจรรยาบรรณธุรกิจของคู่ค้าของอมตะให้คู่ค้าหลักจำนวน 63 ราย และคู้ค้าใหม่จำนวน 52 ราย ผ่านทางอีเมล รวมทั้งสิ้นจำนวน 115 ราย และได้เอกสารตอบกลับรับทราบจำนวน 115  ราย คิดเป็นร้อยละ 17.58 ของคู่ค้าทั้งหมด

2. บริษัทฯ ได้สื่อสารนโยบายและแนวปฏิบัติในการรับและให้ของขวัญ

ในช่วงเทศกาลและในโอกาสอื่นใดไปยังผู้บริหาร พนักงาน บริษัทย่อย และผู้เกี่ยวข้องภายนอก ให้รับทราบโดยทั่วกัน เพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานได้มีหลักปฏิบัติที่ถูกต้องในการรับและให้ของขวัญ หลีกเลี่ยงการเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และสร้างบรรทัดฐานที่ดีในการดำเนินธุรกิจต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างยุติธรรมและโปร่งใส

3. บริษัทฯ ได้จัดการอบรมเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

ให้แก่พนักงานใหม่ จำนวน 46 คน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับจรรยาบรรณธุรกิจ นโยบาย มาตรการ และแนวปฏิบัติที่ดี 

4. บริษัทฯ ได้จัดการอบรมหัวข้อ “หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียนไทย ปี 2560 และการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น”

โดยได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 80 ในปี 2566 พนักงานทุกคน (ร้อยละ 100) ได้ทำการทดสอบโดยแบบทดสอบออนไลน์ และพนักงานร้อยละ 100 ได้คะแนนทดสอบมากกว่าร้อยละ 80

5. บริษัทฯ ได้รับการต่ออายุการรับรองเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชัน

ของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption: CAC Certification) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2566 (หมดอายุการรับรอง 30 กันยายน 2569)

6. บริษัทฯ ได้มีการเชิญชวนให้คู่ค้าของบริษัทฯ เข้าร่วมโครงการ “แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันภาคเอกชนไทย” (CAC Change Agent)

โดยในปี 2566 บริษัทฯ ได้มีการส่งหนังสือเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ CAC Change Agent แก่คู่ค้าจำนวน 85 ราย และได้รับเอกสารตอบกลับรับทราบจำนวน 45 ราย คิดเป็นร้อยละ 52.94  รวมถึงมีการเชิญชวนผ่านการจัดประชุมผู้มีส่วนได้เสีย ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ซึ่งมีคู่ค้าเข้าร่วมทั้งสิ้น 64 ราย

การติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ

บริษัทฯ กำหนดนโยบายการแจ้งเบาะแสและจัดให้มีช่องทางในการสื่อสารที่ปลอดภัยให้พนักงานของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถขอคำแนะนำ แจ้งเบาะแส ข้อเสนอแนะ หรือร้องเรียนกรณีเกี่ยวกับการกระทำผิดใด ๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หลักบรรษัทภิบาล จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยมีมาตรการคุ้มครองสิทธิให้แก่บุคคลดังกล่าว และข้อมูลจากผู้ร้องเรียนจะถูกเก็บรักษาไว้เป็นความลับให้จำกัดเฉพาะผู้ที่รับผิดชอบมีหน้าที่ตรวจสอบประเด็นที่ร้องเรียนเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ข้อร้องเรียนดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการจัดการข้อร้องเรียนที่ได้กำหนดไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ช่องทางในการรับข้อร้องเรียน

นายอนุชา สิหนาทกถากุล
ประธานกรรมการตรวจสอบ
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน)
2126 อาคารกรมดิษฐ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

 +66 (02) 792 0004

นายวิกรม กรมดิษฐ์
ประธานกรรมการ และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ตู้ ปณ.7 ปณฝ.มอนเทอเรย์ทาวเวอร์ บางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10323

นายมานะชัย ขาวประพันธ์
เลขานุการบริษัท
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

+66 (02) 792 0004

กระบวนการจัดการข้อร้องเรียน และเบาะแส

1.

ดำเนินการกลั่นกรองข้อเท็จจริง

และสอบสวนตามแนวปฏิบัติในนโยบายการแจ้งเบาะแส (Whistleblowing Policy) โดยผู้ที่ได้รับมอบอำนาจในการดำเนินการ

2.

พิจารณาดำเนินการในแต่ละกรณีที่พบว่ามีมูลความผิดจริง

โดยคณะกรรมการสอบสวนที่เป็นผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมาย

3.

พิจารณาให้การเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายอย่างเหมาะสม

และกำหนดแนวทางแก้ไขเพื่อป้องกันการเกิดเหตุซ้ำในอนาคต

4.

รายงานสรุปให้คณะกรรมการบรรษัทภิบาลทราบทุกการประชุม

และรายงานคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานในรายงานความยั่งยืนประจำปี


ในปี 2566 บริษัทฯ ได้รับการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนด้านบรรษัทภิบาลที่มีนัยสำคัญ โดยเป็นข้อร้องเรียนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการทุจริตจากช่องโหว่ของระบบกำกับดูแล และพฤติกรรมของพนักงานที่เอื้อต่อการทุจริต รวมทั้งสิ้น 4 เรื่อง ข้อร้องเรียนทั้งหมดนี้ได้ถูกรายงานตรงไปยังประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงตามนโยบายการแจ้งเบาะแสของบริษัทฯ คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสแรกของปี 2567

ในส่วนของการร้องเรียนเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าในปี 2566 นั้น บริษัทฯ ไม่ได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมหรือมีข้อพิพาทกับคู่แข่งแต่อย่างใด

ร่วมสร้างอนาคตไปกับอมตะ

AMATA

Contact us for more details.

Thailand
+66 38 939 007
Vietnam

+84 251 3991 007 (South)
+84 203 3567 007 (North)

Myanmar
+95 1 230 5627
Laos

+85 620 5758 0007

© AMATA CORPORATION PCL. All rights reserved.  Web by Toneyes  Web by Toneyes