เมืองอุตสาหกรรมอมตะ - เนื่องจากทั้งอมตะซิตี้ ชลบุรี และอมตะซิตี้ ระยองอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ธุรกิจของคุณจึงอาจได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามที่โครงการ EEC เสนอ

เปรียบเทียบทำเลที่ตั้งในประเทศไทย

ระยะทางจาก
 ชลบุรี
 ระยอง
สนามบินสุวรรณภูมิ
55 กม.
108 กม.
สนามบินอู่ตะเภา
97 กม.
45 กม.
ท่าเรือแหลมฉบัง
52 กม.

23 กม.

กรุงเทพมหานคร
57 กม.
112 กม.
ศาลาว่าการเมืองพัทยา
67 กม.

29 กม.

สำนักงานเทศบาลเมืองศรีราชา
33 กม.

29 กม.

ศาลากลางจังหวัดชลบุรี
12 กม.

48 กม.

ประเภทลูกค้า
อุตสาหกรรมเพื่อตลาดภายในประเทศ

อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก

อุตสาหกรรมที่ควรลงทุน
EV (ยานยนต์ไฟฟ้า) ธุรกิจดิจิตัล วิทยาการหุ่นยนต์ ธุรกิจการบิน ชีวเคมีภัณฑ์ อาหาร เภสัชกรรม ผลิตภัณฑ์อาหาร การบริการ งานวิจัยและพัฒนา การออกแบบ งานวิศวกรรม ฯลฯ

ธุรกิจเหล็กกล้า โลหะ ยาง พลาสติค เคมีภัณฑ์ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า บริโภคภัณฑ์ อาหาร

About the Eastern Economic Corridor (EEC)

การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ถือเป็นหัวใจสำคัญของโครงการประเทศไทย 4.0

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นโครงการริเริ่มเพื่อการพัฒนาตามพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทันสมัยในภูมิภาคชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจและความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตรถยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมเบาที่มีมานาน

ด้วยการสนับสนุนจากภาคเอกชนรัฐบาลจึงได้วางแผนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น การขยายสนามบินอู่ตะเภา ระยอง-พัทยาและเมืองศูนย์กลางการบิน การขยายท่าเรือมาบตาพุด การขยายท่าเรือแหลมฉบัง รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และนอกจากการสนับสนุนจากทางภาคเอกชนแล้ว รัฐบาลยังมีแผนการสร้างเมืองอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อุทยานเทคโนโลยี และสาธารณูปโภคอื่นๆ

รัฐบาลต้องการดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ เช่น เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การบินอวกาศ ปัญญาประดิษฐ์ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีทางการเงิน วิทยาการหุ่นยนต์ และการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความซับซ้อน เป็นต้น

“ได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ”

ทำไมต้องเลือกประเทศไทย?

ทำเลยุทธศาสตร์

ทำเลยุทธศาสตร์อยู่ใจกลางประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 10 ชาติ รวมถึงมีตลาดผู้บริโภค 660 ล้านคน ถือเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอาเซียนด้วยจำนวนประชากร 69 ล้านคน

เส้นทางการค้าระหว่างประเทศอาเซียน
ประเทศไทยมีเส้นทางการค้าระหว่างประเทศอาเซียนและจีนที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก โดยจุดที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างจากชายแดนทางเหนือของไทยไม่ถึง 200 กิโลเมตร มีอนุทวีปอินเดียอยู่ถัดจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายใหม่และถนนที่กำลังก่อสร้างอยู่ทั่วภูมิภาคจะเชื่อมต่อกับตลาดเหล่านี้
ติดอันดับสูง
ติดอันดับผลผลิตทางการเกษตรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมมากที่สุดอันดับที่ 18 เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดซึ่งวัดจากกำลังซื้อ ลำดับที่ 19 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดอันดับที่ 21 เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดลำดับที่ 24 ตามสถิติใน Pocket World in Figure ค.ศ. 2022
มีโครงสร้างพื้นฐานที่ยอดเยี่ยม
มีโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่ยอดเยี่ยม อันได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างทางดิจิตัล และคุณภาพชีวิต

ทรัพยการมนุษย์มีคุณภาพ


ต้นทุนโดยรวมต่ำ

สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน

สิ่งแวดล้อมด้านการดำเนินงานสําหรับนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทยมีความชัดเจนมาก มีหน่วยงานหลักที่ให้คำปรึกษาและสนับสนุน 2 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสำนักนายกรัฐมนตรี และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม

บทบาทของสองหน่วยงานนี้คือส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติในประเทศไทย โดยให้ข้อมูล บริการและสิทธิประโยชน์ รวมถึงติดตามนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในประเทศ BOI มีวัตถุประสงค์โดยรวมคือการแจ้งผู้ลงทุนต่างชาติเกี่ยวกับกิจกรรมและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนที่เหมาะสมตรงกับสิทธิประโยชน์ ในขณะที่ กนอ.มุ่งเน้นไปที่นิคมอุตสาหกรรม โดยได้รับมอบหมายโดยตรงให้บริหารจัดการโรงงานและนิคมอุตสาหกรรมของ กนอ.และนิคมอุตสาหกรรมที่ผู้พัฒนานิคมเอกชนร่วมพัฒนาด้วย กนอ.จึงต้องกำหนดกฎหมายและข้อบังคับพิเศษที่นิคมอุตสาหกรรมและผู้ลงทุนต้องปฏิบัติตาม

รัฐบาลไทยให้สิทธิประโยชน์และกฎระเบียบที่เป็นมิตรต่อนักลงทุนมากมายเพื่อดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลก และสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินโดยทุนต่างชาติ 100%

BOI ได้มุ่งเน้นมอบสิทธิประโยชน์ขั้นสูงให้ภาคนวัตกรรม เช่น วิทยาการหุ่นยนต์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ ยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมด้านโทรคมนาคม พลาสติกและปิโตรเคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมด้านอาหาร เป็นต้น เพื่อสนับสนุนนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นเป้าหมายยุทธศาสตร์ 20 ปีของรัฐบาลที่จะเร่งการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

นอกจากสิทธิประโยชน์การลงทุนขั้นพื้นฐาน เช่น การยกเว้นภาษีอากรแล้ว BOI ยังแนะนำสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงรายการมาตรการการส่งเสริมเพื่อกระตุ้นการลงทุนที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน

เนื่องจากทั้ง อมตะซิตี้ ชลบุรี และ อมตะซิตี้ ระยอง ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ธุรกิจของคุณอาจอยู่ในเกณฑ์ได้รับสิทธิประโยชน์และเงินทุนสนับสนุนเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือการออกวีซ่าพิเศษโดยคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ EEC

สาธารณูปโภค

  • เมืองพัทยา

    เมืองชายฝั่งทะเลที่มีประชากร์ประมาณ 300,000 คน เป็นสถานที่เป็นที่นิยมในหมู่ชาวต่างชาติ

  • สนามบินสุวรรณภูมิ

    สนามบินหลักของไทยที่รองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนและสินค้า 3 ล้านตัน และจะขยายสนามบินเพื่อรองรับผู้โดยสาร 65 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2568
  • ไลฟ์สไตล์

    ที่พักตามชายฝั่งและชายหาด สนามกอล์ฟมากกว่า 30 แห่ง การเที่ยวชมสถานที่และกิจกรรมต่าง ๆ ในระยะทางสั้น ๆ
  • ท่าเรือแหลมฉบัง

    รองรับปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ได้ประมาณ 8.1 ล้าน TEUs (หน่วยเทียบเท่า 20 ฟุต) และกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาท่าเรือเพื่อให้รองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ 18 ล้านตู้ต่อปี
  • เมืองศรีราชา

    เมืองชายฝั่งทะเลที่มีประชากรประมาณ 330,000 คน เป็นที่นิยมของชาวญี่ปุ่น
  • สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา

    จะเปลี่ยนเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่สามของประเทศ รวมถึงมีการพัฒนาเมืองการบินด้วย
  • รถไฟความเร็วสูง

    โครงการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะสร้างในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทางรถไฟ 220 กม.สายนี้จะเชื่อมสนามบินและเมืองหลัก 3 แห่ง
  • โรงเรียนนานาชาติ

    มีโรงเรียนนานาชาติมากกว่า 10 แห่งในภูมิภาคนี้ เปิดสอนในระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษา

ร่วมสร้างอนาคตไปกับอมตะ

AMATA

Contact us for more details.

Thailand
+66 38 939 007
Vietnam

+84 251 3991 007 (South)
+84 203 3567 007 (North)

Myanmar
+95 1 230 5627
Laos

+85 620 5758 0007

© AMATA CORPORATION PCL. All rights reserved.  Web by Toneyes  Web by Toneyes